News and updates

Blockchain: What and why it matters

เทคโนโลยี Blockchain หรือที่เรียกว่า distributed ledger มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนกระบวนการสำคัญ ที่มีการพึ่งตัวกลาง หรือ trusted provider ในการทำธุรกรรม และกำลังจะกระทบทั้งอุตสาหกรรม ในระยะไม่กี่ปี Blockchain จะเปลี่ยนสถานะจาก buzzword กลายเป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายมากขึ้นในการนำไปใช้กับธุรกิจ (Blockchain for enterprise) นอกเหนือจาก Bitcoin ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันด้านเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ของเทคโลยี Blockchain

 

key2018stat.png

(source: WSJ2016)

 

4  คุณลักษณะหลักของเทคโนโลยี Blockchain ที่ได้เปรียบกว่าการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิม 

1)  ความโปร่งใสของการทำธุรกรรม (transparency)

โดยการสร้างเครือข่ายแบบกระจาย  (distributed) ในลักษณะ peer-to-peer จะช่วยป้องกันผู้เข้าร่วมหรือกลุ่มผู้เข้าร่วมรายใดรายหนึ่ง ไม่ให้ควบคุมโครงสร้างพื้นฐานหรือทำลายระบบทั้งหมด ผู้เข้าร่วมเครือข่ายทั้งหมดเท่าเทียมกัน และยึดมั่นในโปรโตคอลเดียวกัน ทำให้การทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นมีการตรวจสอบและอนุมัติผ่านกระบวนการ consensus ก่อนบันทึกลง distributed ledger โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง  ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุก node สามารถเห็นข้อมูลของทุกคน เพราะแต่ละ node สามารถกำหนดสิทธิ์การมองเห็นข้อมูลได้ 

 

2)  ธุรกรรมสามารถตรวจสอบได้ (Auditability)

การเก็บข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปของบล็อค (Block) ที่ต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้

 และมีการอ้างอิงบล็อคที่อยู่ก่อนหน้า เมื่อมีการบันทึกการทำธุรกรรม ข้อมูลที่ถูกเก็บจะมีการอ้างบล็อกที่อยู่ก่อนหน้าว่ามีข้อมูลตรงกันหรือไม่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และลดโอกาสที่จะเกิดการฉ้อโกง

 

3)  ความปลอดภัยในการทำธุรกรรม (Security)

Blockchain ช่วยป้องกันการทำธุรกรรมซ้อน (double spending) โดยใช้เครือข่ายแบบกระจาย (distributed) ในลักษณะ peer-to-peer โดยบล็อกจะเชื่อมโยงกับบล็อกก่อนหน้า ด้วยการนำค่า Hash ของบล็อกก่อนมาสร้างเป็นค่า Hash ใหม่ของบล็อกล่าสุด และเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ ตามลำดับเวลาของการทำธุรกรรมซึ่งส่งผลให้ธุรกรรมไม่สามารถย้อนกลับ (irrevocability) ได้

 

4)  ประสิทธิภาพ (Efficiency) และความเร็ว (Speed) ของการทำธุรกรรม

การใช้แอพพลิเคชันแบบ Blockchain นั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนมูลค่าหรือสินทรัพย์ (digital asset) โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางซึ่งใช้เวลานานในการดำเนินการ มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเสี่ยงต่อการผิดพลาด การใช้ distributed ledger) จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำ reconcile และ clearing ได้อย่างมหาศาลอีกด้วย

 

ตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้ใน APAC

 

·       ธนาคาร Oversea-Chinese Banking Corporation (OCBC) เป็นธนาคารแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำ Blockchain ไปใช้ในการโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ

·       Bank of China Hong Kong ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในธุรกรรมกว่า 85% ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินราคาที่ดินและการปล่อยสินเชื่อกู้บ้าน

·       Monetary Authority of Singapore (MAS) และ Monetary Authority of Hong Kong (HKMA) ร่วมกันทำแพลตฟอร์มการเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศซึ่งทำงานบน Blockchain

·       The Australian Securities Exchange (ASX) ประกาศนำ Blockchain มาพัฒนาประสิทธิภาพการเคลียริ่งการซื้อขายหลักทรัพย์

(source:FT.com, mas.gov.sg, fintechnews.sg)

 

เทคโนโลยี Blockchain นำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง

blockchain2.png

(source: Deloitte)

 

IDC ได้คาดการณ์ว่าไว้ว่า การลงทุนในเทคโนโลยี Blockchain จะสูงถึง $9.2 พันล้านเหรียญในปี 2021 แน่นอนว่าการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเม็ดเงินมาศาลที่ลงทุนไปในเทคโนโลยีนี้ จะนำมาซึ่งการ disrupt กระบวนการและธุรกิจแบบเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพ และสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในสังคมแบบดิจิทัล