Face Recognition
Face Recognition เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
เทคโนโลยี Face recognition จะเปลี่ยนโลกการทำธุรกรรมให้ปลอดภัยและง่ายมากขึ้น ทำอย่างไรองค์กรจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดโดยคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้บริการ (user friendliness) และการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act) ในโลกปัจจุบันที่ลูกค้าต้องการความสะดวกและปลอดภัยในยุคดิจิทัล Biometrics เป็นเทคโนโลยีที่หลายๆอุตสาหกรรม ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มธนาคารเริ่มนำมาใช้สำหรับ Multi-Factor Authentication (MFA) เพราะเป็นการยืนยันตัวตนที่ง่ายที่สุดเพราะยืนยันด้วยสิ่งที่ลูกค้าเป็น (what-you-are) เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ เสียง หรือม่านตา โดยลูกค้าไม่ต้องจดจำ password (Passwordless) นอกจากนี้องค์กรสามารถนำเทคโนโลยี Biometrics ไปต่อยอดจากเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว เช่น นำมาใช้ในการทำธุรกรรมชำระเงิน หรือการเข้าถึงข้อมูลความลับ หรือแม้แต่เข้าถึงพื้นที่ที่จำกัดสิทธิ์ จะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Apple, Alibaba, Tencent ต่างให้ความสำคัญและลงทุนในเทคโนโลยีนี้อย่างจริงจัง
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition) ถือว่าเป็นหนึ่งในระบบที่ใช้ในการระบุและพิสูจน์ตัวตนบุคคลโดยใช้ Biometric ด้วยการเปรียบเทียบ pattern ของใบหน้าของบุคคลกับรูปภาพใบหน้าในฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมากกว่าสิบปี และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ระบบประมวลผลสามารถตรวจจับใบหน้า (detect) และระบุตัวตน (identify) ได้ทั้งลักษณะภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวทั้งแบบ Real Time และถูกบันทึกไว้เป็นวีดีโอ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ทั้งในด้านความมั่นคงและด้านธุรกิจเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายรวมทั้งในประเทศไทย
โดยทั่วไประบบการจดจำใบหน้าจะประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนหลักคือ
1. การตรวจจับใบหน้า (Face Detection)
คือกระบวนการค้นหาใบหน้าของบุคคลจากภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยใช้เทคโนโลยี AI เช่น Deep Learning เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างภาพใบหน้าและภาพที่ไม่ใช่ใบหน้าได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว จากนั้นจะปรับภาพใบหน้าที่ได้ให้ตรงกับคุณภาพที่ต้องการ หรือตรงตามมาตฐาน เช่น ISO19749-5 (International biometric data interchange formats) เพื่อทำการประมวลผลโดยตรวจจับจุดสังเกตใบหน้า เช่น โครงหน้า ความกว้างของจมูก ความลึกเบ้าตา และผิวหน้า (facial texture) เป็นต้น
2. การจดจำใบหน้า (Face Recognition)
2.1 Face Verification (1:1)
Are you what you say you are?
ระบบจะประมวลผลเพื่อเปรียบเทียบภาพสองภาพจากขั้นตอนการตรวจจับใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนของบุคคล เช่น ภาพในบัตรประชาชนกับภาพใบหน้าที่ถ่ายปัจจุบัน เพื่อเปิดบัญชีธนาคาร หรือภาพในฐานข้อมูลกับภาพถ่ายจากกล้องหน้าประตูเพื่อทำการอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ในอาคาร เป็นต้น
2. การจดจำใบหน้า (Face Recognition)
2.2 Face Identification (1:N)
Who are you?
ระบบจะประมวลผลเพื่อเปรียบเทียบภาพที่มีหรือไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลเพื่อระบุว่าใบหน้าที่ตรวจจับได้ตรงกับบุคคลใด โดยนิยมใช้ในด้านความมั่นคง เพื่อคัดกรองใบหน้าบุคคลในบัญชีดำ (Blacklist) ตามสถานที่สาธารณะ และสนามบิน หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น การตรวจหาลูกค้า VIP
สำหรับในประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามาใช้ในกระบวนการทำความรู้จักลูกค้า (Know Your Customer : KYC) ในขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing) ระดับ Identity Assurance Level (IAL) 2.3* และระดับ Authenticator Assurance Level (AAL) 2.2* ในขั้นตอนการยืนยันตัวตน นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อพิสูจน์ความเป็นบุคคลและสังเกตพฤติกรรมลูกค้า (Liveness Detection) เพื่อป้องกันการปลอมแปลงใบหน้า (Anti-spoofing)
การเลือกใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า สามารถอ้างอิงผลทดสอบจากหน่วยงาน National Institute of Standards and Technology (NIST) ซึ่งทำการทดสอบเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากทั่วโลก โดยเปรียบเทียบผลทดสอบค่า False Acceptance Rate (FAR) และค่า False Rejection Rate (FRR) ของแต่ละเทคโนโลยีอย่างละเอียด การเลือกใช้เทคโนโลยี Biometrics ที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ใช้ในโลกยุคไซเบอร์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูล นอกจากนี้การเก็บรักษาและใช้งานข้อมูล biometric ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลต้องทำอย่างรัดกุมและปลอดภัย เช่น มีการเข้ารหัส (Encryption) ข้อมูลในทุกๆ ขั้นตอนตั้งแต่การสร้าง ใช้งาน เก็บ จนถึงการลบข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สำหรับผู้ที่สนใจนำ Face Recognition และ Liveness Detection มาใช้กับธุรกิจ เช่น
1. ใช้ในการทำ e-KYC/KYC เพื่อให้ได้ IAL 2.3 ตามมาตราฐานของ ETDA
2. ใช้ในสำหรับยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมที่มีความสำคัญ
3. ใช้เพื่อยืนยันตัวตนในการเข้าพื้นที่เฉพาะขององค์กร (Electronic Gate – E-Gate)
4. ใช้เพื่อตรวจจับใบหน้าลูกค้าที่สำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ หรือ บุคคลต้องห้าม (Surveillance)
อ้างอิง *ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย, ETDA
Contact our expert
By submitting, I agree to the processing and international transfer of my personal data by DataOne Asia as described in the Private Policy.